เชื้อโรคซัลโมเนลล่าจากสัตว์เอ็กโซติกสู่คน

สัตว์เอ็กโซติกประเภท สัตว์เลื้อยคลานอย่างเต่า กิ้งก่า โดยเฉพาะงู ซึ่งที่ผิวหนังลำตัว ช่องปากและทวารจะมี “แบคทีเรียก่อโรคชนิดซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.)” ติดอยู่เป็นปกติ เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในทางเดินอาหารของสัตว์เลื้อยคลานและสามารถขับเชื้อออกมาสู่สิ่งแวดล้อมทางอุจจาระ ซึ่งสิ่งที่ต้องพึงระวัง คือ เชื้อโรค ซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) นั้นสามารถติดต่อถึงมนุษย์และส่งผลทำให้เกิดอาการป่วยได้

สัตว์เลี้ยงบางชนิดอาจมีเชื้อซัลโมเนลลาได้โดยที่เจ้าของไม่ทราบ อาทิเช่น สุนัข แมว นก กิ้งก่า และงู เป็นต้น การสัมผัสตัวสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วหากมีการนำนิ้วมือเข้าปาก อาจเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียได้

อาการป่วยที่มักจะพบคือ ท้องร่วง ปวดท้อง มีไข้ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 12 – 72 ชั่วโมง

เชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา  (Salmonella spp.) อาจแฝงอยู่บนผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ซึ่งการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนหรือสัมผัสสัตว์เลี้ยงอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคชนิดนี้ได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงและป้องกันเชื้อดังกล่าวควรปฏิบัติตามคำแนะนำ โดยการล้างมือด้วยสบู่หลังทำกิจกรรมต่างๆ เช่น สัมผัสเนื้อดิบ เข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารก เล่นกับสัตว์เลี้ยง สัมผัสสัตว์เลื้อยคลาน หรือเก็บมูลสัตว์ เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยงเลื่อยคลาน หรือ ปรึกษาเกี่ยวกับโรคซัลโมเนลลา

ติดต่อ Pawsville ได้ที่

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.thaipbs.or.th/news/content/269318

Scroll to Top