โรค PBFD ในสัตว์ปีก 

โรคไวรัสปากและขน หรือ Psittacine Beak and Feather Disease (PBFD) นั้นเกิดจากไวรัส Avian Circovirus ที่สามารถทำลายเซลล์ที่สร้างขนและระบบการหายใจของนกได้ โดยสามารถส่งผลให้นกที่ติดเชื้อมีอาการการเจริญเติบโตของขนที่ผิดปกติ เเละ เกิดความผิดปกติของหงอนและเล็บ โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้โดยทางตรงและทางอ้อม

  • สามารถผ่านการสัมผัสโดยตรงกับนกที่ติดเชื้อ
  • สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสกับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อ

ทั้งนี้ไวรัสดังกล่าวนั้นมีชื่อที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายคือ “ไวรัสเอดส์นก” และไวรัสตัวดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์หากมีการสัมผัสกับสัตว์เหล่านั้น โดยจะเกิดเฉพาะในสัตว์ประจำสายพันธ์อย่างนกด้วยกันเอง ตรงผ่านการสัมผัสกับนกที่ติดเชื้อ หรือโดยอ้อมผ่านการสัมผัสกับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อ ไวรัสนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ บางครั้งเรียกไวรัสนี้ว่า “ไวรัสเอดส์นก” 

อาการเริ่มต้นของโรค PBFD อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงสีของขน โดยขนที่ได้รับผลกระทบอาจมีสีขาว เหลือง หรือดำแซมเข้ามาในขนปกติ ในนกแก้วค็อกคาทูและนกแก้ว ขนที่ได้รับผลกระทบมักจะหลุดร่วงเป็นผง เนื่องจากขนที่หลุดร่วงมักจะถูกแทนที่ด้วยขนใหม่ อาจต้องใช้เวลาหลายครั้งกว่าจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในขนบริเวณหัวและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป อาการขนร่วงจะลุกลามไปยังปีกและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อ ขนใหม่ที่งอกขึ้นมาทดแทนอาจมีรูปร่างผิดปกติและเปราะบางซึ่งอาจหักได้ง่ายโดยมักเกิดบริเวณโคนขน เมื่อการติดเชื้อลุกลาม จะส่งผลให้ขนใหม่นั้นไม่สามารถงอกขึ้นมาได้อีก และขนเก่าที่หลุดร่วงจะไม่ถูกแทนที่

นอกจากนี้ นกที่ติดเชื้อ PBFD อาจมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของจะงอยปากและเล็บเท้า ซึ่งส่งผลจะงอยปากและเล็บเท้าอาจโค้งงอผิดรูปทรง ผิวของจะงอยปากและเล็บเท้าอาจลอก แตก หรือมีรอยร้าว ซึ่งเป็นบริเวณที่อ่อนแอและอาจแตกหักได้ง่าย โดยที่จะติดเชื้อราและการติดเชื้ออื่นๆ อาจแทรกซ้อนเข้าไปในรอยแตกเหล่านี้ ทำให้สภาพจะงอยปากและเล็บเท้ายิ่งแย่ลง ในบางกรณี อาการอาจรุนแรงจนนกไม่สามารถทานอาหารได้เอง ซึ่ง โรค PBFD ระบาดได้ในนกเกือบทุกชนิดในตระกูลนกแก้ว เช่น นกกระตั้ว มาคอว์ เลิฟเบิร์ด แอฟริกัน เกรย์ เป็นต้น อาการจะรุนแรงในลูกนกมากกว่าในนกโตเชื้อไวรัสนี้สามารถส่งผลต่อตับ สมอง และระบบภูมิคุ้มกันได้ รวมถึงสามารถส่งผลให้การติดเชื้อแทรกซ้อน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เจ้าของต้องรีบพานกหรือสัตว์ปีกที่มีอาการของโรค PBFD มาพบสัตวแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยจะมีเก็บเลือดส่งตรวจ PCR เเละ เก็บเส้นขน โดยการถอนนั้นต้องถอนติดตำแหน่งของรากขนมีเลือดปนติดมาด้วย เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัยอาการ เเละ การตัดสินใจการรักษาให้ถูกต้องเเละเหมาะสมกับอาการที่สุด ซึ่งเจ้าของนกหรือสัตว์ปีกที่อาการของโรค PBFD ต้องปฏิบัติตามคำเเนะนำการตรวจรักษาโรค PBFD อย่างเคร่งครัด ในเรื่องของการป้อนอาหาร เเละ ยา, การจัดสถานที่เเหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับนก หรือ สัตว์ปีกที่กำลังอยูในขณะรักษาโรค PBFD เช่น จัดที่อยู่ให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่ชื้น มีอุณหภูมิที่เหมาะสม  ซึ่งจะต้องเเยกที่อยู่ให้ห่างจากสัตว์ปีกตัวอื่น

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการตรวจสุขภาพประจำปี ฉีดวัคซีน ทำหมัน ทำคลอด อัลตร้าซาวนด์ เอ็กซเรย์ หรือ หัตถการเล็ก ใหญ่ไปจนถึงผ่าตัดของสัตว์เลี้ยงทั่วไป

ติดต่อ Pawsville ได้ที่

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก 

https://theparrotsocietyuk.org/site/index.php/parrot-information/veterinary-advice/feathers/psittacine-beak-feather-disease

https://www.facebook.com/premierpethospital/photos/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-pbfd-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C/956251884507669

Scroll to Top